ไบโอม(Biome)

ไบโอมหรือชีวนิเวศสามรถแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ไบโอมบนบกและไบโอมในน้ำ

1.ไบโอมบนบกประกอบด้วย7ไบโอม คือ

ป่าดิบชื้น(Tropical rain forest) เป็นป่าฝนในเขตร้อนและมีฝนตกชุกตลอดปี การที่มีฝนตกชุกตลอดปีทำให้พรรณไม้ที่พบมีความหลากหลาย และมีขนาดใหญ่ การที่ต้นไม้มีลำต้นสูงและใหญ่ เพื่อช่วยในเรื่องสังเคราะห์แสง เพราะในบริเวณบริเวณนึง จะพบต้นไม้จำนวนมาก ทำให้บางทีต้นไม้ที่เตี้ยจะถูกบดบังแสงจากต้นไม้ต้นอื่นได้ ซึ่งความสัมพันธ์ในลักษณะนี้เรียกว่า ภาวะการแข่งขัน ส่วนสัตว์ที่พบในระบบนิเวศนี้ก็เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมากเช่น สมเสร็จ แรด เก้งหม้อ เต่าจักร เป็นต้น

ป่าผลัดใบ(Temparate deciduous forest)พบกระจายทั่วไปในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลก เล่น ประเทศไทย ป่าผลัดใบได้รับน้ำฝนที่เพียงพอที่จะให้ต้นไม้ใหญ่เจริญเติบโต พรรณไม้ส่วนใหญ่จะทิ้งใบในช่วงฤดูแล้งและจะผลิใบอีกครั้งเมื่อมีฝนตกทั้งนี้เพื่อลดการคายน้ำของพืช สัตว์ที่พบ เช่น กวางเอลก์ สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น

ป่าสนเขา(Coniferous forest)จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ และเป็นป่าเขตหนาวที่ใหญ่ที่สุดของโลก สภาพภูมิอากาศเป็นแบบไทกา อากาศหนาวและแห้งเนื่องจากอยู่ทัดจากภูมิอากาศแบบทุนดรา จะพบบริเวณตอนเหนือของรัสเซีย แคนาดา อแลสกา ตอนเหนือของอเมริกา สวีเดน ฟินแลนด์และบางส่วนของญี่ปุ่น เนื่องจากมีฝนตกปริมาณน้อยทำให้พืชส่วนใหญ่ที่พบจะมีสารบางอย่าง เช่น ขี้ผึ้ง เคลือบบริเวณใบ เพื่อลดการคายน้ำ เช่น เฟอ ไพน์ เป็นต้น

และสัตว์ที่พบ เช่น หมีสีน้ำตาล บีเวอร์ และกวางมูส

สะวันนา(Savanna)

มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า มักพบอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกาตอนเหนือและตอนใต้ และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุ่งหญ้าสะวันนา มักจะเกิดไฟป่าขึ้นบ่อยครั้งในฤดูแล้ง นอกจากการเกิดไฟป่าแล้วบางปีฝนอาจไม่ตกเป็นเวลานาน ทำให้ดินที่พบมีลักษณะแห้ง แตกและมีฝุ่นมาก สัตว์ที่พบส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ช้างแอฟริกา สิงโต ควายป่า เป็นต้น ส่วนพืชที่พบส่วนใหญ่เป็นพืชที่ทนแล้ง เช่น ต้นอาเคเซียและต้นเบโอแบบที่มีการกักเก็บน้ำเพื่อการดำรงชีวิตในสภาวะแห้งแล้งได้

ทุนดรา(Tundra)

เป็นไบโอมที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี และในบริเวณชั้นดินจะพบเป็นน้ำแข็ง เนื่องจากบริเวณที่พบนั้นมีอากาศที่หนาวเย็นมากเช่น บริเวณยอดเขาสูง เช่น เทือกเขาเอลฟ์ และบริเวณขั้วโลก ปริมาณฝนที่ตกนั้นน้อยมาก ทำให้สิ่งมีชีวิตที่พบไม่ค่อยมีความหลากหลาวรวมถึงพืช พืชที่พบนั้นมีจำนวนน้อย แต่สิ่งมีชีวิตที่พบมากที่สุดคือ ไลเคน เนื่องจากไลเคนสามารถอาศัยอยู่ในสภาพอากาศหนาวได้ ส่วนสัตว์ชนิดต่างๆมีการปรับตัวเช่น หมีขั้วโลกจะมีขนที่หนาเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกาย เป็นต้น

ทะเลทราย(Desert)

เป็นไบโอมที่มีปริมาณน้ำน้อยที่สุด สามารถพบทะเลยทรายได้ทั่วโลกโดยบางพื้นที่ไม่มีฝนตกยาวนานถึง10ปี สัตว์และพืชที่อาศัยในทะเลทรายจึงต้องมีการปรับตัวเพื่ออาศัยในบริเวณนี้ เล่นพืชจะมีการลดรูปใบเพื่อลดการคายน้ำหรือกระต๋ายแจ็คที่มีใบหูที่ยางเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการคายความร้อน เป็นต้น

ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น(Temparate grassland)พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือเรียก แพร์รี่ พบในแถบยูเรเซียเรียก สเตปป์ และในทวีปอเมริกาใต้เรียกแพมพา ปริมาณฝนที่ตกน้อยและจะตกในฤดูร้อน และจะแห้งแล้งในฤดูหนาว นอกจากทุ่งหญ้าแล้วก็ยังมีพืชชนิดอื่นเช่น ไม้พุ่มที่ทนแล้ง เช่น เบาบับและกระถิน สัตว์ที่พบจะคล้ายคลึงกับไบโอมสะวันนา เช่น ม้าลาย สิงโต หมีโคลา และนกอีมูเป็นต้น

2.ไบโอมในน้ำ แบ่งออกเป็น2ชนิดคือ

ไบโอมแหล่งน้ำจืด(Freshwater biome)ประกอบด้วย แหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำไหลจะมีลักษณะรูปร่างผอมเพรียว เพื่อลดการต้านทานจากกระแสน้ำ และสัตว์ที่พบในแหล่งน้ำจืดเช่น หอยโข่ง เป็นต้น

ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม(Marine biomes)

เป็นแหล่งน้ำที่พบได้มากที่สุดในโลกคือ ทะเล และไบโอมน้ำเค็มก็สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.หาดหิน สัตว์ที่อาศัยบริเวณนี้ต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงจองอุณหภูมิได้เนื่องจากบริเวณชายหาดมีอุณหภูมิที่ไม่คงที่ ได้แก่ แมลงสาบทะเล หอยนางรม

2. หาดทราย เป็นบริเวณที่มีคลื่นซัดรุนแรง สัตว์ที่อาศัยบริเวณนี้ได้แก่ ปูลม และ พะยูน

3. แนวประการัง สิ่งมีชีวิตที่พบ เช่น ประการังเห็ด ประการังต้นไม้

4.ป่าชายเลน สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไปเล่น ต้นโกงกาง มีรากค้ำจุนลำต้น มีรากหายใจโผล่พ้นน้ำออกมา เป็นต้น

จัดทำโดย

นางสาวณญาดา กิจเจริญ เลขที่18 ชั้นม.4/4 รหัส 61532

ใส่ความเห็น